|
การประกันอัคคีภัย
ความเป็นมาของการประกันอัคคีภัย
จากการที่ “ไฟ”เป็นสิ่งที่ให้ทั้งประโยชน์และโทษต่อชีวิตมนุษย์อย่างมากมายนั้นเองจึงทำให้การเป็นอยู่ในชีวิตประจำ
วันของมนุษย์มีความเกี่ยวข้องอย่างใกล้ชิดกับไฟจนกลายเป็นความจำเป็นที่มิอาจแยกออกจากกันได้เหตุนี้มนุษย์จึง
จำเป็นต้องมีชีวิตที่เผชิญอยู่กับความเสี่ยงต่อภัยพิบัติอันอาจจะเกิดจากไฟไหม้อยู่ตลอดเวลาดังนั้นมนุษย์จึงต้อง
พยายามหาทางที่จะควบคุมหรือบรรเทาอันตรายนี้ให้อยู่ในขอบเขตแห่งความเสียหายพอประมาณและในที่สุดก็มี
ผู้คิดวิธีขึ้นมาได้โดยใช้หลัก “การกระจายความเสี่ยงภัย”หรือ “เฉลี่ยความเสี่ยงภัย”ให้กับสมาชิกในสังคมหรือชุมชน
เป็นสัดส่วนที่ยุติธรรม
หลักการกระจายความเสี่ยงภัยหรือเฉลี่ยความเสียหายนี้ถ้าจะอธิบายเพื่อความเข้าใจที่ง่ายก็คือเป็นการกระจายความ
เสียหายซึ่งปกติจะเป็นภาระที่หนักเกินกว่าบุคคลหนึ่งบุคคลใดจะสามารถรับไว้ได้ไปให้กับหลายคนซึ่งอาศัยรวมกัน
อยู่ในสังคมหรือชุมชนเดียวกันเพื่อร่วมแบ่งเบารับเอาส่วนเฉลี่ยของความเสียหายแต่เพียงส่วนน้อยไปโดยความ
สมัครใจนั่นเองในการนี้จำเป็นต้องมีผู้จัดการในเรื่องแบ่งส่วนเฉลี่ยอยู่ด้วยและจากทฤษฎีนี้นี่เองได้ถูกนำมาใช้แก้ปัญหา
พร้อมทั้งได้มีการเรียกชื่ออย่างเหมาะสมว่า “การประกันภัย”
ความหมายของคำว่าไฟ
สำหรับ “ไฟ”ในความหมายของการประกันภัยแล้วจะต้องประกอบด้วย
1.จะต้องมีการติดไฟขึ้นจริงๆ (ปฏิกริยาทางเคมีซึ่งไม่ทำให้มีการติดไฟขึ้นจริงไม่ถือว่าเป็นไฟไหม้)
2.จะต้องมีบางสิ่งบางอย่างถูกเผาไหม้โดยที่สิ่งนั่นไม่ควรจะถูกเผาไหม้
3.ในส่วนที่เกี่ยวกับผู้เอาประกันภัยแล้วไฟนั้นจะต้องเกิดขึ้นโดยอุบัติเหตุหรือโดยบังเอิญจริงๆ
4.แม้จะไม่รวมถึงไฟที่จุดขึ้นในความมุ่งหมายปกติซึ่งถูกควบคุมให้อยู่ภายในขอบเขตที่จำกัดอันเป็นปกติธรรมดาแต่
จะรวมถึงไฟชนิดนี้ด้วยหากไฟนั่นเกิดลุกลามเกินขอบเขตที่จำกัดออกไป
สำหรับกฏเกณฑ์ที่สำคัญบางประการเกี่ยวกับการประกันอัคคีภัยอาจจะอธิบายโดยสังเขปดังนี้คือ
1.Insurable Interest (ส่วนได้เสียที่อาจเอาประกันได้)
ในการขอทำประกันอัคคีภัยเพื่อคุ้มครองทรัพย์สินใดๆก็ตามผู้เอาประกันจะต้องแน่ใจเสียก่อนว่าตนเองเป็นผู้มี
ผลประโยชน์หรือส่วนได้เสียในทรัพย์สินนั้นๆอย่างแท้จริง
2.Utmost Good Faith (ความซื่อสัตย์ต่อกันอย่างยิ่ง)
ผู้เอาประกันภัยจะต้องส่งรายละเอียดบอกลักษณะของทรัพย์สินตลอดจนมูลค่าที่แท้จริงของทรัพย์สินที่จะเอา
ประกันภัยและรายการอื่นที่จำเป็นที่ทางผู้รับประกันต้องการทราบในใบคำขอทำประกันภัยตามความเป็นจริง
ทุกประการ
3.Indemnity (การชดใช้ค่าเสียหายตามความเป็นจริง)
ในกรณีที่ทรัพย์สินที่เอาประกันเกิดเสียหายเนื่องจากไฟไหม้แล้วโดยกฏเกณฑ์แห่งการชดใช้ในทางประกันและโดย
ปฏิบัติตามประมวลกฏหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 877ได้บัญญัติไว้ดังนี้
3.1เพื่อจำนวนวินาศภัยอันแท้จริง
3.2เพื่อความบุบสลายอันเกิดแก่ทรัพย์สินซึ่งได้เอาประภัยไว้เพราะได้จัดการตามสมควรเพื่อป้องปัดความวินาศภัย
3.3เพื่อบรรเทาค่าใช้จ่ายอันสมควรซึ่งได้เสียไปเพื่อรักษาทรัพย์ซึ่งเอาประกันภัยไว้นั้นมิให้วินาศ
4.Subrogation (การเข้าสวมสิทธิ)
ถ้าหากบริษัทได้จัดเงินชดเชยให้สำหรับความเสียหายที่เกิดขึ้นทั้งหมดหรือเต็มทุนประกันแล้วผู้รับประกันจะรับโอน
สิทธิในการเป็นเจ้าของทรัพย์สินที่เหลือจากความเสียหายก็ได้ (ความเสียหายที่เกิดขึ้นจริงผู้เอาประกันต้องได้รับการ
ชดใช้เต็มจำนวนเสียก่อนที่สิทธิการสวมสิทธิจะมีผล)
5.Contribution (การมีส่วนร่วมรับผิดชอบ)
ในกรณีที่ผู้เอาประกันได้แบ่งทำประกันทรัพย์สินอย่างหนึ่งไว้กับหลายบริษัทและได้ทำประกันไว้วันเดียวกันหรือไม่
พร้อมกันเมื่อเกิดความเสียหายขึ้นกับทรัพย์สินที่เอาประกันนั้นทุกบริษัทจะร่วมกันเฉลี่ยชดใช้ตามส่วนที่ได้รับประกัน
จนเท่ากับจำนวนความเสียหายที่แท้จริง
6.Proximate Cause (สาเหตุใกล้ชิด)
โดยทั่วไปแล้วกรมธรรม์ประกันอัคคีภัยที่ใช้อยู่ในประเทศไทยเป็นกรมธรรม์ชนิดมาตรฐานเหมือนกันทุกบริษัทซึ่ง
นอกจากจะให้ความคุ้มครองในกรณีไฟไหม้แล้วยังให้ความคุ้มครองเพื่อการชดใช้เมื่อความเสียหายนั้นเกิดจากฟ้าผ่า
ด้วยหรือจะกล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือถ้าทรัพย์สินที่เอาประกันภายใต้กรมธรรม์ประกันไฟได้รับความเสียหายโดยตรง
จากไฟไหม้หรือฟ้าผ่าแล้วบริษัทจะรับผิดชอบชดใช้ตามจำนวนที่เกิดขึ้นอย่างแท้จริง
อย่างไรก็ตามยังมีความเสียหายบางอย่างซึ่งแม้จะมิได้มีสาเหตุโดยตรงจากไฟไหม้ก็ตามถ้าความเสียหายสืบได้ว่า “ไฟ”
เป็นสาเหตุขั้นต้นแห่งความเสียหายแล้วบริษัทรับประกันจำต้องรับผิดชอบชดใช้ภายใต้กรมธรรม์ประกันไฟเช่นกัน
ความเสียหายดังกล่าวได้แก่
-ความเสียหายเนื่องจากควันไฟหรือความร้อนไหม้เกรียม
-ความเสียเนื่องจากน้ำที่ใช้ดับเพลิง
-ความเสียหายที่เกิดขึ้นจากการกระทำของเจ้าหน้าที่ดับเพลิงที่ได้ปฏิบัติไปตามหน้าที่
ทรัพย์สินที่เอาประกันได้
-ตัวอาคาร (ไม่รวมรากฐาน)
-เฟอร์นิเจอร์และเครื่องตกแต่ง
-สต็อกสินค้า
-เครื่องจักร
อัตราเบี้ยประกันภัย
-ลักษณะสิ่งปลูกสร้าง
-ลักษณะของภัย (อาชีพ)
-ทุนประกัน
-สถานที่ตั้งทรัพย์สิน (เขตเทศบาล,สุขาภิบาล ,ในเขต,นอกเขต)
-สิ่งแวดล้อม (โดดเดี่ยว ,ไม่โดดเดี่ยว)
ไม่ว่าประกันทรัพย์สินอย่างหนึ่งอย่างใดหรือรวมกันก็ตามใช้อัตราเบี้ยเดียวกันหมด
การประกันภัยเพิ่มเติม
-ภัยระเบิด
-ภัยน้ำท่วม
-ภัยแผ่นดินไหว
-ลมพายุเป็นต้น
ภัยพิเศษเหล่านี้ถ้าหากลูกค้าต้องการทำประกนภัยชนิดไหนก็ต้องเสียเบี้ยฯเพิ่ม (ตามที่กำหนดในพิกัดอัตราเบี้ยประกัน
ภัย)
เงื่อนไขในกรมธรรม์ทำให้สัญญามีผลเป็นโมฆะหรือโมฆียะ
สัญญาที่เป็นโมฆะคือสัญญาที่ขาดผลในทางกฏหมายทุกประการหรือโดยข้อเท็จจริงแล้วไม่มีสัญญาเกิดขึ้นเลย
สัญญาที่เป็นโมฆียะคือสัญญาที่อีกฝ่ายหนึ่งอาจใช้สิทธิโต้แย้งเพื่อบอกเลิกสัญญาได้หากไม่ใช้สิทธิโต้แย้งก็คือว่า
สัญญามีผลบังคับโดยสมบูรณ์
เงื่อนไขตามสัญญาการประกันมีอยู่ 2ประการคือ
1.เงื่อนไขที่โดยชัดแจ้งคือเงื่อนไขต่างๆที่ระบุไว้ในกรมธรรม์ประกันภัย
2.เงื่อนไขโดยปริยายคือเงื่อนไขซึ่งมิได้ระบุไว้ในกรมธรรม์แต่ก็มีผลบังคับเหมือนกับเงื่อนไขที่ระบุไว้ในกรมธรรม์
เงื่อนไขโดยปริยายมีดังนี้
1)ความซื่อสัตย์สุจริตต่อกันเป็นอย่างยิ่งของคู่สัญญา
2)การมีส่วนได้เสียในทรัพย์สินที่เอาประกัน
3)ทรัพย์สินที่เอาประกันต้องมีอยู่ขณะทำสัญญา
4)การระบุลักษณะทรัพย์สินที่เอาประกันไว้ชัดแจ้ง
ทั้งเงื่อนไขโดยชัดแจ้งและเงื่อนไขโดยปริยายสามารถแบ่งได้ดังนี้
ก)เงื่อนไขบังคับก่อน
คือเงื่อนไขที่ปฏิบัติก่อนที่กรมธรรม์จะมีผลบังคับถ้าไม่ได้ปฏิบัติตามทำให้กรมธรรม์ไม่มีผลสมบูรณ์เช่นเงื่อนไข
ผลการบรรยายคลาดเคลื่อนในสาระสำคัญการไม่เปิดเผยสาระสำคัญ
ข)เงื่อนไขที่ต้องปฏิบัติหลังทำสัญญาแล้วเช่นผู้เอาประกันจะต้องแจ้งให้ผู้รับประกันทราบเมื่อมีการเพิ่มทุนประกัน
ในทรัพย์สินที่เอาประกัน
ค)เงื่อนไขที่ผู้เอาประกันต้องปฏิบัติก่อนบริษัทจึงจะรับผิดชอบ
เช่นเงื่อนไขที่ให้ผู้เอาประกันปฏิบัติในการเรียกร้องค่าสินไหมกรณีมีความเสียหายเกิดขึ้นบริษัทไม่ต้องรับผิดชอบต่อ
ความเสียหายจนกว่าผู้เอาประกันจะปฏิบัติตามเงื่อนไขดังกล่าว
|