My Time
Java not found.
Your Time

<การประกันอัคคีัภัย><AllRisksInsurance><ContractWorkInsurance>
การประกันภัยความรับผิดของงานตามสัญญา
(CONTRACT WORK INSURANCE)

ประเภทของงานที่สามารถซื้อความคุ้มครองได้ (Type of Works)
กรมธรรม์ประกันภัยความรับผิดของงานตามสัญญาเป็นกรมธรรม์ที่ถูกพัฒนารูปแบบการรับประกันของกรมธรรม์
ประกันความรับผิดของผู้รับเหมาก่อสร้าง (Contractor’s All Risks Policy)โดยรวมรายละเอียดเงื่อนไข
ความคุ้มครองข้อยกเว้นของทั้ง 2กรมธรรม์เข้าด้วยกันกรมธรรม์ประกันความรับผิดของงานตามสัญญา (Contact
Work Insurance Policy)นี้คือเป็นกรมธรรม์มาตรฐาน (Standard Policy)ที่ใช้ในประเทศไทย

ลักษณะของงานที่สามารถซื้อความคุ้มครอง
ภายใต้กรมธรรม์ประกันความรับผิดชอบของงานตามสัญญาพออธิบายเป็นสังเขปได้ดังนี้
1.งานวิศวกรรมโยธา (Civil and Building Work)ได้แก่งานก่อสร้างถนนงานสร้างเขื่อนงานสร้างฝายน้ำล้น
งานสร้างคลองส่งน้ำ งานก่อสร้างอุโมงค์ งานก่อสร้างทางรถไฟงานก่อสร้างอาคารงานก่อสร้างสนามกอล์ฟงานวาง
ท่อก๊าซและน้ำมันงานก่อสร้างสะพานฯลฯ
2.งานติดตั้ง (Erection Works) ได้แก่งานติดตั้งระบบไฟฟ้างานติดตั้งระบบประปางานติดตั้งระบบทำความเย็น
งานติดตั้งระบบลิฟท์บันไดเลื่อนงานติดตั้งเครื่องจักรฯลฯ

ลักษณะความคุ้มครอง (Insuring Coverage)
ลักษณะความคุ้มครองของกรมธรรม์จะมีลักษณะความคุ้มครองแบบคุ้มครองความเสี่ยงภัยทุกชนิด (All Risks)และ
ลักษณะความสูญเสียหรือความเสียหายที่เกิดขึ้นในขณะที่กำลังปฏิบัติงานตามสัญญาจะต้องมีสาเหตุมาจากอุบัติเหตุ
(Accidental)หรือเหตุการณ์ที่ไม่อาจคาดการณ์ล่วงหน้าได้ (Unforeseen)อาทิเช่น
1.ภัยที่เกิดจากธรรมชาติ (Act of God) ได้แก่ แผ่นดินไหวลมพายุน้ำท่วมแผ่นดินถล่มเป็นต้น
2.ภัยอันเกิดจากการกระทำของมนุษย์ (Human factor)ได้แก่การกระทำโดยเจตนาของคนงานการกลั่นแกล้ง
เจตนาร้าย ความเสียหายต่อเนื่องที่เกิดจากการใช้แรงงานไร้ฝีมือไฟไหม้การโจรกรรมความประมาทเลินเล่อของ
คนงานการระเบิดทางฟิสิกส์เป็นต้น
3.ภัยที่มีผลกระทบต่อบุคคลที่ 3 (Third party Liability)ในการก่อสร้างผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นโดยตรงหรือ
โดยอ้อม แก่บุคคลที่ 3 ไม่ว่าจะเกิดจากความบาดเจ็บหรือเสียชีวิตหรือทรัพย์สินได้รับความเสียหายไม่ว่าการ
กระทำนั้น
จะเกิดขึ้นจากตัวของผู้เอาประกันเองหรือเกิดจากการกระทำของคนงานของผู้เอาประกันภัยเป็นผู้ก่อให้เกิด
ขึ้นซึ่งผลกระทบต่อบุคคลที่ 3ดังกล่าวผู้เอาประกันภัยจะต้องรับผิดตามกฏหมาย
4.ภัยอื่น ๆที่นอกเหนือ (Other peril)ถึงแม้ว่าการประกันภัยความรับผิดชอบของงานตามสัญญาในเงื่อนไขแห่ง
กรมธรรม์ประกันภัยจะให้ความคุ้มครองแบบ All Risksก็ตามแต่ในเงื่อนไขดังกล่าวยังให้ความคุ้มครองไม่ทั่วถึง
ซึ่งผู้เอาประกันภัยจำเป็นจะต้องขยายความคุ้มครองออกไปโดยการออกสลักหลัง (Endorsement)อาทิเช่น
1.Cross Liability Clause.
2.Maintenance period Clause.
3.Strike Riot and Civil Commotion Clause.
4.Escalation Clause.
5.Expediting Clause.
6.Vibration Clause.
7.Existing property Clause.
ฯลฯ
Clause ต่าง ๆดังกล่าวข้างต้นเป็นเพียงบางส่วนที่ผู้เอาประกันภัยสามารถที่จะขอให้บริษัทประกันภัยขยายความ
คุ้มครองได้ รายละเอียดของ Clauseต่างๆจะอธิบายให้ละเอียดในหัวข้อเงื่อนไขพิเศษแห่งกรมธรรม์

ผู้เอาประกันภัย (Insured Name)
ในเรื่องของการประกันภัยความรับผิดชอบของงานตามสัญญาผู้เอาประกันภัยในที่นี้หมายถึงนิติบุคคลตั้งแต่ 2ฝ่ายขึ้น
ไปได้กระทำนิติกรรมร่วมกัน (Contract)เพื่อให้เกิดเงื่อนไขที่ถือปฏิบัติตามสัญญาว่าจ้างดังนั้นในสัญญาว่าจ้างการ
ก่อสร้างใดๆหรือสัญญาว่าจ้างการติดตั้งเครื่องจักรแต่ละโครงการจะมีผู้เกี่ยวข้องกับโครงการมากมายซึ่งบุคคลที่
เกี่ยวข้องในงานตามสัญญาดังกล่าวถือเป็นผู้เอาประกันภัยทั้งสิ้นเช่น
1.เจ้าของโครงการ (Principal)
2.เจ้าของที่ดิน (Landlord)
3.ผู้รับเหมางานตอกเสาเข็ม (Contractor For Pilling Works)
4.ผู้รับเหมางานก่อสร้าง (Main Contractor)
5.ผู้รับเหมางานช่วง (Sub-Contractors)
6.เจ้าของผู้ผลิตสินค้า (Manufacturer)
7.ที่ปรึกษาโครงการ (Consultance Engineer)
ฯลฯ

ระยะเวลาประกันภัย (Period of Insurance)
กรมธรรม์ประกันความรับผิดของงานตามสัญญาเป็นกรมธรรม์ที่กำหนดระยะเวลาโครงการซึ่งอาจจะเป็น 3เดือน, 6
เดือน, 1 ปี, 2 ปีหรืออาจจะยาวนานกว่านั้นดังนั้นในกรมธรรม์ประกันภัยจะกำหนดระยะเวลาตามตารางเวลา (Time
Schedule)ซึ่งความคุ้มครองจะเริ่มทันทีที่มีการขนของเข้าสู่สถานที่ก่อสร้างจนกระทั่งการปฏิบัติงานตามสัญญา
ได้เสร็จสิ้นลงและเจ้าของโครงการได้ออกใบตรวจรับงาน (Provisional acceptance of the Works)หรือ
ผู้ว่าจ้างได้เริ่มใช้สถานที่ (Taking into Use)ดังนั้นทันทีที่มีการส่งมอบงานถือว่ากรมธรรม์ประกันความรับผิด
ของงานตามสัญญาสิ้นสุดลง

ระยะเวลาการบำรุงรักษา (Maintenance period)
หลังจากที่เจ้าของโครงการได้ตรวจรับงานจากผู้รับเหมาเป็นที่เรียบร้อยแล้วสัญญาบำรุงรักษาของผู้รับเหมาจะเริ่มเกิด
ขึ้น ซึ่งโดยทั่ว ๆ ไป กำหนดเงื่อนไขระยะเวลาบำรุงรักษาจะน้อยหรือมากขึ้นอยู่กับประเภทของงานโดยทั่วๆไปจะ
กำหนดประมาณ 3เดือน , 6เดือนหรือ 12เดือน
ประเภทของระยะเวลาบำรุงรักษากำหนดลักษณะความคุ้มครองเป็น 2ลักษณะคือ
1.Visit Maintenance เป็นการคุ้มครองความสูญเสียหรือความเสียหายใดๆที่เกิดขึ้นในขณะที่ผู้รับเหมาหรือ
คนงานของผู้รับเหมาที่ปฏิบัติงานภายใต้ระยะเวลาบำรุงรักษาได้ก่อให้เกิดความเสียหายต่อทรัพย์สินที่ได้เอาประกันภัย
ไว้ภายใต้งานตามสัญญาบริษัทประกันภัยก็จะให้ความคุ้มครองความเสียหายที่เกิดขึ้น
2.Extended Maintenance เป็นการคุ้มครองความสูญเสียหรือความเสียหายใดๆที่เกิดขึ้นในขณะที่ผุ้รับเหมา
หรือคนงานของผู้รับเหมาที่ปฏิบัติภายใต้ระยะเวลาบำรุงรักษาได้ตรวจพบความเสียหายที่มีอยู่เดิมซึ่งได้เกิดขึ้นก่อน
เข้าไปบำรุงรักษาและยังคุ้มครองถึงความเสียหายใหม่ที่เกิดขึ้นในขณะที่เข้าไปบำรุงรักษา

ระยะเวลาการทดลอง (Testing period)
ในด้านงานติดตั้งเครื่องจักร (Erection Work)กรมธรรม์ประกันความรับผิดของงานตามสัญญา (Contract
Work Insurance)จะให้ความคุ้มครองแบบอัตโนมัติถึงการทดลองเครื่องเป็นเวลา 4สัปดาห์นับจากวันที่ติดตั้ง
เครื่องจักรเสร็จสิ้นแล้วและการคุ้มครองเกี่ยวกับการทดลองเครื่องกำหนดให้เฉพาะเครื่องจักรใหม่เท่านั้นสำหรับ
เครื่องจักรประเภทมือสอง (2nd hand)กรมธรรม์ประกันภัยจะยกเว้นการคุ้มครองเกี่ยวกับการทดลองเครื่อง
ประเภทความคุ้มครองเกี่ยวกับการทดลองเครื่องแบ่งเป็น 3ประเภทดังนี้
1.Cold test
2.Hot test
3.Commissioning
สำหรับโรงงานบางประเภทการกำหนดระยะเวลาการทดลองเครื่องไว้ 4 สัปดาห์อาจไม่เพียงพอดังนั้นผู้เอาประกัน
ควรที่จะตรวจสอบดูก่อนว่าระยะเวลาการทดลองเครื่องควรกินเวลานานเท่าใด

การกำหนดทุนประกันภัย (Sum Insured basis)
ในการกำหนดทุนประกันภัยสำหรับงานตามสัญญาจะต้องประกอบด้วยค่าใช้จ่ายต่างๆดังต่อไปนี้
1.Engineering Cost
2.Cost of goods ex works of suppliers
+ Cost of Transportation and Insurance
+ Cost of Custom duties , dues and taxes
3.Cost of Erection or Labour Cost
4.Various other costs , e.g. Commission
5.Total Contract price (1+2+3+4)
+ Service and equipment of machines supplied or work executed by the principal

สืบเนื่องจากระยะเวลาในการก่อสร้างโดยทั่วๆไปจะใช้เวลาที่แตกต่างกันขึ้นอยู่กับขนาดของโครงการซึ่งบางโครงการ
อาจกินเวลาหลาย ๆ ปีดังนั้นเพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาด้านราคาสินค้าที่เปลี่ยนแปลงไปซึ่งมีผลมาจากสภาพเงินเฟ้อ
(Inflation)ซึ่งในสภาพดังกล่าวอาจมีผลทำให้มูลค่างานตามสัญญาเปลี่ยนแปลงไปผู้เอาประกันภัยควรที่จะมีข้อตกลง
ล่วงหน้าโดยกำหนดเงื่อนไขการปรับปรุงทุนประกันภัยระหว่างปี (Provisional adjustments of the sum
Insured)หรือกำหนดเงื่อนไขพิเศษการเพิ่มทุนประกันภัยแบบอัตโนมัติ (Escalation)ซึ่งอาจจะกำหนดวงเงินไว้
ล่วงหน้าว่าไม่เกินเท่าไรของมูลค่างานตามสัญญาเช่น 10% , 20%เป็นต้น