My Time
Java not found.
Your Time

<การประกันอัคคีัภัย><AllRisksInsurance><ContractWorkInsurance>
การประกันความเสี่ยงภัยทุกชนิด
(ALL RISKS INSURANCE)

ประเภทของกรมธรรม์ประกันภัยที่มีลักษณะคล้ายกรมธรรม์ประกันภัยความเสี่ยงภัยทุกชนิด

สำหรับตลาดประกันภัยในประเทศไทย มีกรมธรรม์ประเภทต่างๆที่มีลักษณะคล้ายคลึงกับกรมธรรม์ประกันความ
เสี่ยงภัยทุกชนิดอยู่หลายรูปแบบซึ่งรูปแบบกรมธรรม์ประกันภัยดังกล่าวมีจุดมุ่งหมายที่จะให้ความคุ้มครองใน
ลักษณะของ All Risks Coverหรืออาจจะกล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือจะคุ้มครองความสูญเสียหรือความเสียหายที่เกิดจาก
เหตุการณ์ที่ไม่อาจคาดการณ์ล่วงหน้าได้และที่สำคัญต้องมีสาเหตุมาจากอุบัติเหตุเท่านั้นรูปแบบของกรมธรรม์
ประกันภัยที่มีลักษณะใกล้เคียงกับกรมธรรม์ประกันความเสี่ยงภัยทุกชนิดและมีใช้ในประเทศไทยพอสรุปได้ดังนี้
1.Industrial All Risks Insurance Policy.
2.Contingency Insurance Policy.
3.Miscellaneous Insurance Policy.
4.Inland Floater Insurance Policy.
5.House holder Insurance Policy.
6.House owner Insurance Policy.
7.Personal property Insurance Policy.
ฯลฯ

นอกจากกรมธรรม์ที่มีลักษณะความคุ้มครองคล้ายๆกับกรมธรรม์ประกันความเสี่ยงภัยทุกชนิดแล้วยังมีกรมธรรม์
ประกันภัยอื่นๆที่มีลักษณะความคุ้มครองเฉพาะรูปแบบได้แก่
1.Contract Works Insurance Policy.
2.Contractor’s All Risks Insurance Policy.
3.Erection’s All Risks Insurance Policy.
4.Electronic Equipment Insurance Policy.
5.Machinery Breakdown Insurance Policy.
6.Construction Plant and Machinary Insurance Policy.
7.Personal Accident Insurance Policy.
ฯลฯ

ลักษณะความคุ้มครอง
ลักษณะความคุ้มครองของกรมธรรม์ประกันความเสี่ยงภัยทุกชนิด (All Risks Insurance Policy)มีการกำหนด
เงื่อนไขความคุ้มครองไว้ 2ลักษณะกล่าวคือ
1.ระบุภัยที่คุ้มครองเฉพาะ
สำหรับการระบุภัยที่คุ้มครองจะมีลักษณะคล้ายๆกับกรมธรรม์ประกันอัคคีภัย (Fire Insurance Policy)แต่จะ
แตกต่างจากกรมธรรม์ประกันอัคคีภัยก็ตรงที่จะมีความคุ้มครองมากกว่าทั้งนี้เพราะกรมธรรม์ประกันความเสี่ยงภัย
ทุกชนิดสามารถที่จะขยายความคุ้มครองรวมไปถึงภัยที่เกิดจากสาเหตุอื่นๆที่นอกเหนือภัยที่กำหนดทั้งนี้จะต้องไม่อยู่
ในข้อยกเว้นของกรมธรรม์ประกันภัย “All other physical loss or damage from an external cause
not specify in the exclusion of the policy “ ภัยอื่นๆที่เกิดขึ้นโดยตรงจากสาเหตุจากปัจจัยภายนอกที่มิได้
ระบุไว้ในข้อยกเว้นของกรมธรรม์ประกันภัยดังกล่าวที่ได้ระบุอยู่ในเงื่อนไขความคุ้มครองของกรมธรรม์ได้แก่ภัยอัน
มีสาเหตุมาจากการโจรกรรม,การตกหล่นของทรัพย์สินที่เอาประกันซึ่งอาจจะเกิดจากการประมาทเลินเล่อหรือ
ปฏิบัติงานผิดพลาดของพนักงานของผู้เอาประกันภัยเป็นต้น
2.ไม่กำหนดภัยที่คุ้มครอง
สำหรับในกรณีดังกล่าวบริษัทประกันภัยจะไม่ระบุภัยที่คุ้มครองในลักษณะเฉพาะแต่ในกรมธรรม์ประกันภัยจะระบุ
แต่เพียงว่า “ถ้าหากภายในระยะเวลาของการประกันภัยนี้ทรัพย์สินหรือส่วนหนึ่งส่วนใดของทรัพย์สินที่ระบุอยู่ใน
ตารางกรมธรรม์ประกันภัยได้รับความเสียหายหรือสูญเสียโดยเกิดจากอุบัติเหตุหรือเหตุการณ์ที่ไม่ได้คาดหมายใดๆ
ในขณะที่ทรัพย์สินดังกล่าวอยู่ในบริเวณที่ได้ระบุไว้ในตารางกรมธรรม์ประกันภัย “จากแนวทางในการกำหนดเงื่อนไข
ความคุ้มครองดังกล่าวข้างต้นทั้งสองลักษณะแท้ที่จริงแล้วไม่มีความแตกต่างกันเลยกล่าวคือลักษณะความคุ้มครอง
จะเป็น “ Unforeseen and Accidental Damage “