My Time
Java not found.
Your Time

อุตสาหกรรมผ้าผืน
ผ้าผืน วัตถุประสงค์ของการผลิตผ้าผืนก็คือเพื่อใช้ในประเทศโดยนำมาใช้เป็นวัตถุดิบในอุตสาหกรรมการผลิต
เสื้อผ้าสำเร็จรูป อุตสาหกรรมเคหะสิ่งทอและการผลิตผ้าผืนเพื่อการส่งออก

โครงสร้างอุตสาหกรรม

ประเภทของผ้าผืน
สามารถแบ่งตามลักษณะการผลิตได้เป็น 3 ประเภทคือ
-ผ้าทอ (WOVEN)
-ผ้าถัก (KNITTING)
-ผ้าที่มิใช่ผ้าทอผ้าถัก (NONWOVENS)


1.ผ้าทอ (WOVEN)

การผลิต วิธีการโดยทั่วไปในการผลิตผ้าทอ แบ่งเป็น 3 ขั้นตอนคือ
-การเตรียมเบื้องต้น (PRELIMINARY PROCESSES)คือการเตรียมเส้นยืนและเส้นพุ่ง
-การทอผ้า (WEAVING PROCESSES) คือการทอผ้าตากเครื่องทอชนิดต่าง ๆ
-การตรวจสอบ (INSPECTION)คือการตรวจสอบน้ำหนักตำหนิในเนื้อผ้าและซ่อมแซม

โดยปกติผ้าทอทุกชนิดจะประกอบด้วยเส้นด้าย 2 ชุด คือ เส้นยืน และเส้นพุ่งเส้นยืนจะเปิดออกให้ช่องตะกอ (SHED)
โดยตับ ตะกอ (HEALD FRAMES)ซึ่งมีการควบคุมให้ขึ้นและลงตามจังหวะของการทำงานของเครื่องทอ
เส้นพุ่งจะสอดใส่เข้าไปโดยมีกระสวยเป็นตัวพา และกระทบเส้นพุ่ง (BEAT-UP) ให้เข้าไปในเนื้อผ้า ณตำแหน่ง
ที่ต้องการนั้นกระทำโดยฟันหวีซึ่งเคลื่อนที่ไปข้างหน้าพร้อมกับสเลย์ (SLEY)
ม้วนเส้นยืนจะตั้งอยู่ด้านหลังของเครื่องทอ โดยเส้นยืนจะร้อยผ่านอุปกรณ์จำเป็นต่าง ๆ เช่น DROP WIREหรือ
LEASE RODS ไปยังด้านหน้าของเครื่องทอ และม้วนเข้ากับม้วนผ้าม้วนเส้นยืนจะต่อกับกลไกการปล่อยเส้นยืน
(LET 0FF MOTION) ซึ่งจะหมุนม้วนเส้นยืนและปล่อยเส้นยืนด้วยอัตราที่สอดคล้องกับอัตราของผ้าที่กำลังทอ

ชนิดของผ้าทอ สามารถแยกออกเป็นชนิดใหญ่ ๆ ได้ 3 ชนิดตามลักษณะโครงสร้างพื้นฐานได้แก่

ผ้าทอลายขัด (PLAIN WEAVE) เป็นโครงสร้างผ้าที่ง่ายที่สุดเกิดจากการขัดสานระหว่างเส้นด้ายยืนชุดหนึ่ง
และเส้นด้ายพุ่งชุดหนึ่ง ตามแบบโครงสร้างที่กำหนดไว้ คือ 1 : 1 ซึ่งทำให้เกิดมุมที่เส้นยืนและเส้นพุ่งตัดกันทำมุม
90 องศา ผ้าทอลายนี้แข็งแรงที่สุด เพราะด้ายสานกันอย่างหนาแน่นด้ายยืนและด้ายพุ่งจะทอขึ้นลงสลับกัน
โดยตลอดเป็นผ้าที่มีราคาไม่แพงนัก เมื่อเทียบกับผ้าลายอื่นที่ใช้เส้นด้ายชนิดเดียวกัน ผ้าทอลายขัดมีหลายชนิดตั้งแต่
เนื้อผ้าบางโปร่ง จนกระทั่งเนื้อหนาแน่น และยังดัดแปลงวิธีทอ ให้แตกต่างออกไปอีกแต่ยังคงรักษาขบวนการขัด
เส้นด้ายแบบทอลายขัดไว้

ผ้าทอลายสอง (TWILL WEAVE) เป็นลายผ้าที่ใช้กันแพร่หลายสำหรับผ้าทอเป็นโครงสร้างผ้าที่มีความแข็งแรงรองจากผ้าลายขัดทอโดยให้ด้ายพุ่งลอด
หรือข้ามด้ายยืนเหลื่อมกันขึ้นไปทางซ้ายหรือขวา ทำให้เกิดเป็นลายทแยงซ้ายหรือขวาก็ได้มุมทแยงจะเฉียงมากหรือ
น้อยขึ้นกับความขัดกันของเส้นยืน เส้นด้ายที่ใช้ในการทอจะมีเกลียวแน่น และมีความแข็งแรงคงทนผ้าทอลายสอง
ยังแบ่งออกเป็นลายสอง แบบสมดุล หรือลายสองแบบสองหน้าและลายสองแบบไม่สมดุล

ผ้าต่วนหรือผ้าลายซาติน (SATIN WEAVE) ผ้าต่วนมีลักษณะคล้ายผ้าลายสอง แต่ลายทางยาวกว่าเพราะต้องมี
เส้นข้ามตั้งแต่ 4 เส้นขึ้นไป วิธีขัดก็ไม่เหมือนกัน เส้นที่ลอดกระจัดกระจาย เส้นที่ลอยยิ่งยาวยิ่งมันมากเป็นผ้าที่มีความ
แข็งแรงที่สุด เมื่อทอแล้วผ้าจะมีลักษณะเรียบและเป็นมัน เห็นด้ายยืน(WARP FLUSH) หรือด้ายพุ่ง (FILLING
FLUSH) เพียงอย่างใดอย่างหนึ่ง ลายต่วนนี้จุดที่ด้ายยืนหรือด้ายพุ่งขัดกัน จะไม่อยู่ติดกันเลย ผ้าต่วนมี 2 ชนิดคือ
ผ้าต่วนด้ายยืน (SATIN)และผ้าต่วนด้ายพุ่ง (SATEEN)


2.ผ้าถัก (KNITTING)

-การถัก (KNITTING) คือการนำเอาเส้นด้ายมาพันรอบชิ้นส่วนถักเพื่อให้เกิดเป็นห่วงขึ้น

การผลิต การถักผ้ามี 2วิธีคือ
-การถักผ้าแนวนอน (WEFT KNITTING) คือวิธีการผลิตผ้าโดยการถักแบบหนึ่ง ซึ่งห่วงจะเกิดขึ้นในทิศทาง
เดียวกับความกว้างของผ้าจากเส้นด้ายเส้นเดียว หรือหลายเส้นก็ได้และมีลักษณะเฉพาะตรงที่เส้นด้ายแต่ละเส้น
ที่ป้อนเข้าไปจะทำมุมมากกว่าหรือน้อยกว่ามุมฉากกับทิศที่เกิดเป็นผืนผ้า
-การถักผ้าแนวดิ่ง (WARP KNITTING) คือ วิธีการผลิตผ้าโดยการถักแบบหนึ่งซึ่งห่วงจะเกิดขึ้นในทิศทาง
เดียวกับความยาวของผ้า จากเส้นด้ายชุดเดียวหรือหลายชุดก็ได้และมีลักษณะเฉพาะตรงที่เส้นด้ายแต่ละชุดที่ป้อนเข้า
ไปเกือบจะเป็นเส้นเดียวกันกับทิศทางที่เกิดเป็นผ้า

องค์ประกอบทั่วไปในการถักผ้า คือ การใช้อุปกรณ์สำหรับทำให้เส้นด้ายเป็นห่วงคล้องกับอุปกรณ์สำหรับทำให้เส้นด้าย
เป็นห่วงคล้องกับอุปกรณ์นั้น ก็คือเข็ม ซึ่งที่ใช้กันในปัจจุบันมี 3 ชนิด คือ เข็มแล็ช (LATCH NEEDLE)เข็มสปริง
(BEARD NEEDLE)และเข็มคอมเพาวด์ (COMPOUND NEEDLE)

ชนิดของผ้าถัก

-ผ้าถักแนวนอน เป็นผ้าที่ถักจากเครื่องถักแนวนอน มีเครื่องแท่นเข็มตรง และเครื่องแท่นเข็มกลมซึ่งมีโครงสร้าง
พื้นฐานอยู่ 3ชนิด
-ผ้าเพลน (PLAIN KNITTED FABRIC) เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า ผ้าเจอร์ซี่เป็นผ้าถักที่มีโครงสร้างแบบธรรมดาที่สุด
สำหรับการถักแนวนอนสามารถถักด้วยมือและเครื่อง
-ผ้าริบ (RIB FABRIC) เป็นผ้าถักที่มีการคล้องห่วงแบบห่วงด้านหน้า และห่วงด้านหลังของผ้าเพลนสลับกันทาง
ด้านที่เป็นแถวของห่วงตามความยาวผ้า ถักด้วยเครื่องที่มีเข็ม 2ชุด
-ผ้าเพิร์ล (PURL FABRIC) เป็นแบบที่รวมเอาระบบการผลิตผ้าถักทั้งแบบซิงเกิลนิตและดับเบิ้ลนิตเข้าด้วยกัน
โดยใช้เข็มแล็ช 2 หัวเป็นผ้าถักที่มีการคล้องห่วงด้านหน้าและด้านหลังของแถวห่วงตามความกว้างของผ้า

-ผ้าถักแนวดิ่ง เป็นผ้าที่ถักจากเครื่องทริคอตและเครื่องราเชล เป็นเครื่องชนิดแท่นเข็มตรงมีทั้งแท่นเข็มเดี่ยวและแท่น
เข็มคู่ การสร้างห่วงของผ้าชนิดนี้จะมีทิศทางเดียวกับความยาวของผ้าชนิดนี้จะมีทิศทางเดียวกับความยาวของผ้า
ซึ่งห่วงที่ใช้ถักมีอยู่ 2 แบบ คือ ห่วงปิด (CLOSE LOOP) และห่วงเปิด (OPEN LOOP)โดยการเปลี่ยนแปลง
ความยาวของช่วงต่อห่วงให้แตกต่างกันไป ใช้เส้นด้ายอย่างน้อย 2 ชุด จึงจะได้ผ้าที่มีโครงสร้างมั่นคงแข็งแรงเหมาะ
ต่อการนำไปใช้

-ผ้าที่ถักจากเครื่องทริคอต ได้แก่ ผ้าฟูลทริคอต (FULL TRICOT) ผ้าล็อกนิต (LOCKNIT)ผ้ารีเวิสล็อกนิต
(REVERSE LOCKNIT) ผ้าเรสด์ลูป (RAISED LOOP) ผ้าซาติน (SATIN)ผ้าชากสกิน (SHARK
SKIN) ผ้าควีนส์คอร์ด (QUEENSCORD) เป็นต้น ลักษณะของผ้าทริคอต เป็นผ้าเนื้อละเอียดน้ำหนักเบา

-ผ้าที่ถักจากเครื่องราเชล ได้แก่ ผ้าตาข่ายราเชลหกเหลี่ยม (RASCHEL-HEXAGONAL)เพาเวอร์เน็ต
(POWER NET) เป็นต้น ลักษณะของผ้าราเชลนี้ใช้โครงสร้างแบบเดียวกับผ้าทริคอตแต่มีการใส่เส้นด้าย
โดยไม่ถักห่วง (LAYING-IN) มาใช้เป็นส่วนใหญ่ จึงสามารถใช้เส้นด้ายขนาดใหญ่และผ้าที่ได้ มีน้ำหนักเบาเพราะ
ไม่มีการถักห่วง อัตราการป้อนเส้นด้ายเข้าไปจึงน้อยกว่า และผลิตเพื่อใช้เป็นเสื้อผ้าสวมใส่ภายในและภายนอกผ้าม่าน
ชุดว่ายน้ำ ผ้าหุ้มเฟอร์นิเจอร์ และเสื้อผ้าเด็กเป็นต้น

เส้นด้ายที่ใช้ในการถักผ้า

เดิมมีการใช้เส้นด้ายขนสัตว์ ฝ้าย ไหม และเรยอนใยยาว ในการถักผ้า ปัจจุบันผู้ผลิตนิยมใช้เส้นด้ายยืดหยุ่น
(TEXTURED YARN) เช่น เส้นด้ายไนลอน และโพลีเอสเตอร์ เป็นต้น ทำให้เพิ่มการยืดและคืนตัวได้มากขึ้น
เส้นด้ายที่นิยมใช้ได้แก่

เส้นด้ายปั่น (SPUN YARN) เป็นเส้นด้ายที่ผลิตมาจากเส้นใยสั้นจากธรรมชาติ หรือเส้นใยสังเคราะห์ที่ตัดให้สั้นๆ
หรือผสมกันระหว่างเส้นใยธรรมชาติกับเส้นใยสังเคราะห์ มีลักษณะเฉพาะคือผิวของเส้นด้ายจะมีปลายของเส้นใย
ลอยตัวออกมาทำให้อ่อนนุ่มต่อการสัมผัส ได้แก่ ด้ายฝ้าย ด้ายขนสัตว์ ด้ายอะคริลิก และเส้นด้ายผสมเป็นต้น
เส้นด้ายใยยาว (FLAMENT YARN)เป็นเส้นด้ายที่ผลิตขึ้นมาจากการสังเคราะห์ทางเคมีให้มีเส้นใยยาวต่อเนื่องกัน
มีลักษณะเฉพาะคือเป็นเส้นด้ายที่มีผิวเรียบ และสม่ำเสมอกันตลอดเส้น ได้แก่ เส้นด้ายไนลอน โพลีเอสเตอร์เรยอน
อาซิเตดเป็นต้น
เส้นด้ายยืดหยุ่น (TEXTURED YARN) เป็นเส้นด้ายที่มีการพัฒนาจากเส้นใยยาวโดยผ่านความร้อนและแกน
แท่งแก้วในสปินเดิล (SPINDLE) ด้วยความเร็วที่สูงมาก ทำให้เส้นด้ายเพิ่มความฟู (BULK)และความยืดหยุ่น
(ELASTICITY)


3.ผ้าที่มิใช่ผ้าทอผ้าถัก (NONWOVENS)

การผลิต
เป็นการผลิตผ้า โดยการนำวัสดุสิ่งทอ ได้แก่ เส้นใยสั้น เส้นใยยาว และเส้นด้ายหรือการผสมผสานกันระหว่างวัสดุ
สิ่งทอ มาทำให้ติดกัน หรือยึดเหนี่ยวกันเป็นผืนผ้า โดยกระบวนการทางเคมี และทางเชิงกลซึ่งมีกรรมวิธีการผลิตดังนี้

-WET PROCESS มีขบวนการผลิตเช่นเดียวกับการผลิตกระดาษ โดยการนำเส้นใยใส่ลงไปในน้ำ แล้วทำให้เป็น
แผ่นโดยการแยกน้ำออก แล้วทำให้แห้ง หลังจากนั้นจึงนำแผ่นใยนี้ไปผ่านกระบวนการทางเคมีส่วนการเลือกใช้วัตถุดิบ
ในกระบวนการผลิตนี้ขึ้นอยู่กับคุณสมบัติและการนำไปใช้ในงานทอผ้า
-DRY PROCESS เป็นกระบวนการผลิตจากแผ่นใยประเภทใยสั้นจาก เครื่องสางใยปัจจุบันมีการพัฒนาการทำ
แผ่นใยได้ตามต้องการ ทั้งขนาดความโด ความยาว และชนิดเส้นใยเป็นต้น

การเลือกเส้นใยในการผลิตผ้าผืน

ความสำคัญของการเลือกเส้นใยที่จะใช้ในการผลิตผ้าผืนก็คือคุณภาพของผ้าและลักษณะของผ้าที่จะนำไปใช้ในการผลิต
สิ่งทอประเภทอื่น ๆ ซึ่งคุณสมบัติที่จะคำนึงถึงก็ได้แก่ การสัมผัส ความยับ และเม็ดบนผืนผ้า เป็นต้นโดยสามารถ
กำหนดได้จากเบอร์ของด้ายที่จะปั่น และคุณสมบัติของเส้นใยต่าง ๆ ที่จะนำมาผสมกันซึ่งการผสมเส้นใยนั้นสามารถ
ผสมเพื่อให้เกิดลักษณะของเส้นด้ายที่จะนำมาใช้ในการผลิตผ้าต่างๆ



ศูนย์ข้อมูลเศรษฐกิจ
บริษัท บริการข้อมูลผู้จัดการ จำกัด