สโมสรโรตารี่สากล
สโมสรโรตารี่ในประเทศไทย
สโมสรโรตารี่กรุงเทพตะวันออก
A brief history
Rotary's first day and the years that followed...
.
February 23, 1905. The airplane had yet to stay aloft more than a few minutes. The
first motion picture theater had not yet opened. Norway and Sweden were peacefully
terminating their union. On this particular day, a Chicago lawyer, Paul P. Harris, called
three friends to a meeting. What he had in mind was a club that would kindle
fellowship among members of the business community. It was an idea that grew from
his desire to find within the large city the kind of friendly spirit that he knew in the
villages where he had grown up.
.
The four businessmen didn't decide then and there to
call themselves a Rotary club, but their get-together
was, in fact, the first meeting of the world's first Rotary
club. As they continued to meet, adding others to the
group, they rotated their meetings among the
members' places of business, hence the name. Soon
after the club name was agreed upon, one of the new
members suggested a wagon wheel design as the club emblem. It was the
precursor of the familiar cogwheel emblem now worn by Rotarians around the world.
By the end of 1905, the club had 30 members.
.
The second Rotary club was formed in 1908 half a continent away from Chicago in
San Francisco, California. It was a much shorter leap across San Francisco Bay to
Oakland, California, where the third club was formed. Others followed in Seattle,
Washington, Los Angeles, California, and New York City, New York. Rotary became
international in 1910 when a club was formed in Winnipeg, Manitoba, Canada. By
1921 the organization was represented on every continent, and the name Rotary
International was adopted in 1922.
.
.
ประวัติความเป็นมาของโรตารี่ในประเทศไทย GotoTop
(โดย อน.บุนเทียม อึ้งภากรณ์ แห่งสโมสรโรตารี่เชียงใหม่)
.
องค์กรโรตารี่ได้ถือกำเนิดขึ้นในนครชิคาโกเมื่อวันที่ 23 ก.พ. 1905 (พ.ศ. 2448) โดย พอล พี. แฮร์ริส และได้
เข้าสู่ประเทศไทยโดยโรแทเรียนเจมส์ ดับบลิว. เดวิดสัน แห่งสโมสรโรตารี่แคลแกรี่ เมืองแอลเบอร์ตา ประเทศ
แคนาดา ได้รับการแต่งตั้งจากโรตารี่สากล ให้เป็นผู้แทนพิเศษผู้มีอำนาจเต็ม ในการก่อตั้งสโมสรโรตารี่ ในภาค
พื้นตะวันออก โดยได้ขอพระราชทานวโรกาสเข้าเฝ้า พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน
เพื่อกราบทูลถวายเรื่องราวและประวัติความเป็นมาของโรตารี่ให้ทรงทราบโดยละเอียด อีกทั้งยังได้ขอให้
พระองค์ประทานพระราชดำริ ในอันที่จะก่อตั้งสโมสรโรตารี่แห่งแรกในประเทศไทย เสด็จในกรมฯ ทรงมี
พระราชดำริเห็นชอบในอุดมการณ์ของโรตารี่ ดังนั้นสโมสรโรตารี่แห่งแรกในประเทศไทย จึงได้รับการก่อตั้ง
ขึ้น เมื่อวันที่ 17 ก.ย.1930 (พ.ศ. 2473) เรียกชื่อกันว่า "สโมสรโรตารี่กรุงเทพ" (ซึ่งเป็นสโมสรที่ใช้ภาษา
อังกฤษในการประชุม) มีสมาชิกก่อตั้งรวม 69 ท่าน ซึ่งมีสัญชาติต่างๆ อยู่ถึง 15 ชาติด้วยกัน การประชุมก่อตั้ง
ได้จัดขึ้น ณ พระราชวังพญาไท (ปัจจุบันคือ รพ. พระมงกุฎ ถ.ราชวิถี) โดยเสด็จในกรมพระกำแพงเพชร
อัครโยธิน ได้ทรงเป็นนายกก่อตั้งสโมสร
.
ปี 1931 (พ.ศ. 2474) มีสโมสรโรตารี่ 8 สโมสรในภาคพื้น "แหลมทอง" นี้ โรตารี่สากลจึงจัดให้สโมสรทั้ง
8 แห่งเข้าอยู่ในภาคเดียวกัน คือ "ภาคโรตารี่ บี"
.
ปี 1935 (พ.ศ. 2478) โรตารี่สากลผนวกเอาบรรดาสโมสรโรตารี่ทั้งหมด ที่มีอยู่ในเขตอินโดจีน ซึ่งอยู่ใน
การปกครองของฝรั่งเศส เข้าในภาคโรตารี่ บี ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็น ภาคโรตารี่ 80 โดยที่เสด็จในกรม
พระกำแพงเพชรอัครโยธิน ได้รับเกียรติเป็นผู้ว่าการภาคคนแรกของภาคโรตารี่ 80 นี้
.
ปี 1948 (พ.ศ. 2491) โรตารี่สากลได้จัดลำดับหมายเลขภาคโรตารี่ทั่วโลกใหม่ ภาคโรตารี่ 80 จึงเปลี่ยน
เป็นภาคโรตารี่ 46
.
ปี 1955 (พ.ศ. 2498) เนื่องในโอกาสที่มีการฉลองวันครบรอบ 25 ปีของการก่อตั้งสโมสรโรตารี่กรุงเทพ
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช (รัชกาลที่ 9) ทรงโปรดเกล้าฯ พระราชทานเกียรติแก่โรตารี่
โดยรับเป็นองค์อุปถัมถ์ของโรตารี่แห่งประเทศไทย ธรรมนูญและข้อบังคับของโรตารี่สากลแปลเป็นภาษา
ไทยครั้งแรกโดย อดีตนายกหลวงสิทธิสยามการ แห่งสโมสรโรตารี่กรุงเทพ ซึ่งต่อมาได้เป็นสมาชิกก่อตั้ง
คนหนึ่งของสโมสรโรตารี่แห่งที่สองในประเทศไทยอีกด้วย คือ สโมสรโรตารี่บางกะปิ ซึ่งเป็นสโมสรที่ใช้
ภาษาไทยในการประชุม
.
ปี 1957 (พ.ศ. 2500) จำนวนสโมสรมีเพิ่มมากขึ้น เลขประจำภาคจึงต้องเปลี่ยนเป็นหลัก 3 ตัว ภาคโรตารี่ 46
จึงเปลี่ยนเป็นภาคโรตารี่ 330 โดยมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 ก.ค. 1957
.
ปี 1958 (พ.ศ. 2501) ได้มีการก่อตั้งสโมสรโรตารี่ธนบุรี โดยพระยามไหสวรรย์เป็นนายกก่อตั้ง ซึ่งเป็นสโมสร
แห่งที่สองในประเทศไทย
.
ปี 1980 (พ.ศ. 2523) วันที่ 23 กุมภาพันธ์ 1980 เป็นวันครบรอบ 75 ปีของโรตารี่สากล สโมสรในประเทศ
มีถึง 48 สโมสร ในการประชุมภาค 330 ครั้งที่ 45 ระหว่างวันที่ 22-24 กุมภาพันธ์ 1980 มีมติให้แยก
ภาค 330 ออกเป็น 2 ภาค โดยสโมสรโรตารี่ในประเทศไทยมีภาคของตนเอง คือ ภาคโรตารี่ 335 ทั้งนี้ ให้
มีผลบังคับตั้งแต่ 1 กรกฏาคม 1982 เป็นต้นไป และ อน.โรจน์วิทย์ เปเรร่า แห่งสโมสรโรตารี่กรุงเทพใต้ ได้
ดำรงตำแหน่งผู้ว่าการภาคคนแรกของ "ภาคโรตารี่ 335" จำนวนสโมสรในประเทศไทยได้เพิ่มขึ้นเป็น 69
สโมสรภายในปีนั้น
.
ปี 1983 (พ.ศ. 2526) วารสารโรตารี่ฉบับปฐมฤกษ์ ได้ออกมาในวันที่ 1 กรกฏาคม 2526 โดยมี อน.สุมิน
พฤกษิกานนท์ แห่งสโมสรโรตารี่เชียงใหม่เหนือเป็นบรรณาธิการ โรตารี่สากลยอมรับในเป็นวารสารทางการ
ประจำภาคพื้น เมื่อวันที่ 1 กรกฏาคม 2528
.
ปี 1985 (พ.ศ. 2528) จำนวนสโมสรโรตารี่ในประเทศไทยมีจำนวนมากขึ้น โรตารี่สากลจึงได้อนุมัติให้แยก
ภาคออกเป็น 2 ภาค คือ ภาค 335 และ ภาค 336 เมื่อวันที่ 4 มิถุนายน 1985 โดยมีผลบังคับวันที่ 1 กรกฏาคม
1985 เป็นต้นไป
.
ปี 1992 (พ.ศ. 2535) โรตารี่สากลได้อนุมัติให้ภาค 335 และ ภาค 336 แบ่งสโมสรและแยกภาค เป็น 4 ภาค
ด้วยกันคือ ภาค 3330 , 3340 , 3350 และ 3360 โดยมีผลบังคับตั้งแต่วันที่ 1 กรกฏาคม 2535 เป็นต้นไป
.
ประวัติความเป็นมาของสโมสรโรตารี่กรุงเทพตะวันออก GotoTop