My Time
Java not found.
Your Time

การติดตามสินเชื่อที่มีปัญหาหรือเสียไปแล้ว

สาเหตุที่ทำให้เกิดหนี้มีปัญหา

1.สาเหตุเกิดจากตัวลูกหนี้เอง

1.1ด้านการบริหารงาน
-บริหารงานแบบ One-man Showหรือแบบครอบครัว
-เจ้าของกิจการอายุมาก/สุขภาพไม่ดี
-ผู้บริหารระดับสูงเสียชีวิตหรือลาออก
-ผู้บริหารคนใหม่ไม่มีความสามารถเพียงพอ
-ผู้บริหารขาดประสบการณ์ไม่มีความสามารถ/มีการทุจริต
-เกิดการทะเลาะขัดแย้งระหว่างผู้บริหาร
-ผู้บริหารมีนิสัยเสี่ย เช่น ชอบเล่นการพนัน , สะสมภรรยา,ไม่เอาใจใส่ในการบริหารงาน ,ฟุ้งเฟ้อฯลฯ
-ระบบงานไม่มีประสิทธิภาพ/ขาดการติดตามและควบคุม

1.2ด้านการเงิน
-ทุนน้อยก่อหนี้มากเกินไปจับโครงการใหญ่เกินไป
-ขาดเงินทุนหมุนเวียน
-ลงทุนหลายด้านทำให้ควบคุมดูแลไม่ทั่วถึงและไม่มีประสบการณ์เพียงพอ
-ระบบบัญชีการควบคุมทางเงินไม่มีประสิทธิภาพ
-ดำเนินงานขาดทุนติดต่อกันมาตลอด

1.3ด้านการผลิต
-การผลิตไม่เต็มกำลังการผลิตหรือขยายกำลังการผลิตมากเกินไป
-เครื่องจักรเก่าเกินไป
-สินค้าไม่ได้มาตรฐาน
-ขาดวัตถุดิบ

1.4ด้านการตลาด
-การแข่งขันรุนแรง
-การบริหารด้านการตลาดไม่มีประสิทธิภาพไม่มี Marketing Plan
-ลูกหนี้รายใหญ่สูญหาย/ Supplierรายใหญ่แจ้ง
-ระบบบริหารพนักงานขายไม่รัดกุม
-ระบบการควบคุมการปล่อยเครดิตไม่ดี

2.สาเหตุจากปัจจัยภายนอก

-ภาวะอุตสาหกรรมหรือวัฎจักรทางธุรกิจ
-พฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยนแปลง
-ภาวะเศรษฐกิจและการเมืองนโยบายรัฐบาล
-เหตุสุดวิสัย เช่นไฟไหม้สไตร์คจลาจลฯลฯ

3.สาเหตุจากผู้ให้กู้คือธนาคารเอง

-การพิจารณาเครดิตไม่รอบคอบ
-การจัดทำเอกสารสัญญาไม่รัดกุม
-การฝ่าฝืนคำสั่งระเบียบงานของธนาคาร/ทุจริต
-ขาดการควบคุมติดตามโดยใกล้ชิด/ระบบรายงานล่าช้า/ไม่ตัดไฟแต่ต้นลม
-นโยบายการให้สินเชื่อของธนาคารผิดพลาด

อาการของหนี้เริ่มมีปัญหาหรือสัญญาณเตือนภัย

1.จากประวัติการติดต่อกับธนาคารเอง
-บัญชีเคลื่อนไหวน้อย หรือไม่เคลื่อนไหว /ใช้เต็มวงเงินโอ.ดี.ตลอด /ใช้เกินวงเงินตลอดและไม่สามารถลดยอดหนี้
ได้ตามเงื่อนไข
-เริ่มมีเช็คคืนทั้งขาเข้าและขาออก
-เริ่มจ่ายเงินต้นและดอกเบี้ยผิดนัด /เลื่อนชำระ T/Rและ Packing Creditฯลฯ
-หนี้ขายลดเช็คการค้าคืน
-หลักประกันมีการเสื่อมค่าหรือสูญหายหรือขอเปลี่ยนแปลงหลักประกัน
-เริ่มไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขของเงินกู้เช่นนำเงินกู้ไปใช้วัตถุประสงค์
-ถูก Claimหนังสือค้ำประกัน
-มีการขอกู้ยืมเงินเพิ่มโดยไม่มีเหตุผลเพียงพอ
-ได้รับการสอบถามเครดิตของลูกค้าจากสถาบันการเงินอื่นบ่อยครั้ง
-เริ่มไม่ให้ความร่วมมือแก่ธนาคารอย่างจริงใจเช่นไม่ให้ข้อมูลและงบการเงินหรือล่าช้า ,พยายามหลบหน้าไม่ให้
เจ้าหน้าที่ธนาคารเข้าพบและไม่ยอมติดต่อกลับมา
-ไม่ให้ความร่วมมือในการไปเยี่ยมสำนักงานหรือโรงงาน
-ให้ข้อมูลเท็จ

2.จากงบการเงิน
-ธุรกิจขาดทุนมากหรือขาดทุนติดต่อกันหลายปี
-Debt / Equityสูงขึ้นมาก
-ยอดขายลดลงมากหรือยอดขายเพิ่มขึ้นแต่กำไรลดลง
-ต้นทุนการผลิตสูงขึ้น
-ระยะเวลาเรียกเก็บหนี้สูงกว่าปกติ
-การสต็อกสินค้าสูงขึ้น
-หนี้สูญมากขึ้น
-ภาระหนี้การค้าสูงขึ้น/เจ้าหนี้เอกชนมากขึ้น
-ลงทุน Fixed Assetsมากเกินไป
-เปลี่ยนผู้สอบบัญชีบ่อยๆหรือเปลี่ยนระบบบัญชี

3.ลูกค้าเอง
-ผู้บริหารตาย /ลาออกหรือเปลี่ยนแปลงกรรมการผู้ถือหุ้นรายใหญ่
-ตลาดมีปัญหาการแข่งขันรุนแรง ,ตัดราคา
-ขยายกำลังการผลิตเกินตัวหรือขยายกิจการมากเกินไป
-ถูกถอนลิขสิทธิ์ตัวแทนสินค้าสำคัญ
-ตลาดสินค้าของลูกค้าอิ่มตัว
-ความสามารถในการผลิตมีปัญหา /ขาดวัตถุดิบ

4.อื่นๆ
-ถูกเจ้าหนี้อื่นฟ้องร้อง
-มีการฟ้องร้องกับผู้อื่นเช่นผู้ว่าจ้าง ,ลูกค้าฯลฯ
-เสียเครดิตการค้าหรือสถาบันการเงิน
-ผู้ขายสินค้างดให้ส่วนลด /เครดิตเทอม

การแก้ไขหนี้เสีย

1.เทคนิคในการจัดการหนี้เสีย
-มีระบบสัญญาณเตือนภัยที่ดีรู้ปัญหาทันทีที่เกิดขึ้น
-รู้สาเหตุของปัญหาเพื่อหาทางแก้ไขให้ตรงเหตุ
-ศึกษาอุปนิสัยลักษณะของลูกค้า
-พิจารณาว่าเป็นปัญหาถาวรหรือปัญหาชั่วคราวหาทางแก้ไขปัญหา
-ดำเนินการแก้ไขโดยรวดเร็วเพื่อเป็นการตัดไฟแต่ต้นลมโดยติดต่อลูกหนี้ทันที

2.หลักปฏิบัติในการแก้ไขหนี้เสีย มีทางได้แก่
-ประนีประนอมและให้ความช่วยเหลือจนลูกหนี้สามารถชำระหนี้ได้ (Work Out)
-บังคับให้ลูกหนี้ชำระหนี้ตามสัญญาโดยวิธีกฏหมาย (Liquidation)

3.วิธีประนีประนอม
-ให้ลูกค้าจัดหาหลักประกันเพิ่มเติมทันที
-เปลี่ยนโครงสร้างหนี้เช่นยืดเวลาชำระเงินกู้ลดดอกเบี้ย
-เพิ่มวงเงินชั่วคราวเพื่อแก้ปัญหา
-เข้าไปช่วยบริหาร/ควบคุมกิจการ/หาคนมา Take Over
-ให้ลูกหนี้ปรับปรุงโครงสร้างการบริหารงาน/หามืออาชีพ
-ให้ลูกค้าเพิ่มทุน/แปลงหนี้เป็นทุน
-ขายสินทรัพย์ลูกค้าชำระหนี้
-Splitหนี้ให้ผู้ถือหุ้นช่วยกันรับภาระ
-ย้ายหลักประกันจากเจ้าหนี้รายอื่นโดยให้วงเงินเพิ่ม
-ดำเนินการต่อรองกับเจ้าหนี้รายอื่น
-ประนีประนอมรับชำระหนี้คืนไม่ครบ

4.วิธีดำเนินการตามกฏหมาย
-ย่นเวลาครบกำหนด /ยกเลิกสัญญาเงินกู้
-ดำเนินการเรียกหนี้คืนตามกฏหมาย
-ขายทรัพย์สินและหลักประกัน
-หักบัญชีชำระหนี้



เอกสารประกอบการบรรยาย
คุณอนันต์เกตุพิทยา