My Time
Java not found.
Your Time

<10 Defence Strategies for Hostile Takeover><Convertible Debenture & Warrant>
1. Compliance with the Rule ต้องพิจารณาดูว่า ผู้เข้าทำการ takeover ได้ปฏิบัติตามกฏหมาย
หรือไม่ เช่นการยื่นต่อ กลต. การทำคำเสนอซื้อ ปฏิบัติตามข้อบังคับของบริษัท เพราะหากผู้ทำการครอบงำไม่ปฏิบัติ
ตาม บริษัทเป้าหมายก็อาจจะร้องเรียนเป็นทางการเข้าดำเนินการ หรือฟ้องร้องว่า การประชุมนั้นไม่ชอบ ในกรณีนี้
เคยเกิดขึ้นแล้วในประเทศไทย เช่น บริษัท ไวตาคอร์จำกัด , สหธนาคาร , บริษัท อาคเนย์ประกันภัย
2. Holding Company การจัดตั้งบริษัทโฮดิ้ง ซึ่งเป็นบริษัทจำกัดในการเข้าถือหุ้นข้างมาก โดยเขียน
ข้อบังคับ และเพื่อไม่ให้บุคคลภายนอกเข้ามาดำเนินสิ่งใดสิ่งหนึ่งไปโดยอำเภอใจของตนเองได้ การมี Holding
Company ก็ยังจะช่วยให้มีการวบรวมผู้ถือหุ้นรายย่อยที่อยู่กระจัดกระจาย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หุ้นในบริษัท
ครอบครัวเข้าอยู่ในหน่วยเดียวกันเพื่อความสะดวก สิทธิในการควบคุมและการดำเนินการบริษัทก็ยังสามารถดำเนินการ
ได้ แต่การจัดตั้ง Holding company ที่มีผู้ถือหุ้นหลายกลุ่ม ก็ต้องจัดสรรและกำหนดข้อบังคับให้ดี ไม่เช่นนัั้น
อาจเกิดปััญหาเช่นเดียวกันกับ บริษัท อาคเนย์ประกันภัย จำกัด ในกรณีที่บริษัท holding จดทะเบียนอยู่ในตลาด
หลักทรัพย์ ก็อาจจะกำหนดเงื่อนไขในข้อบังคับให้แตกต่างไปจาก พรบ.มหาชน
3. Poison Pill หรือการวางยา เมื่อบริษัทใดต้องการเข้า takeover บริษัทเป้าหมายแล้ว ผู้ถือหุ้นที่จะถือเข้า
ครอบงำกิจการก็จะมีการทำให้บริษัทนั้น มีค่าใช้จ่ายสูงขึ้น ทำให้ผลกำไรลดลง ทำให้ผลตอบแทนในการลงทุนน้อยลง
นอกจากนี้ ในต่างประเทศสามารถป้องกันได้โดยวิธี ที่อาจแบ่งเรียกได้ 2 แบบ คือ flip in หมายถึง การที่ผู้ถือหุ้นให้สิทธิ
ผู้ถือหุ้นเดิมของบริษัทที่เป็นเป้าหมาย สามารถซื้อหุ้นใหม่ในบริษัทได้ในราคาถูก หรือ เมื่อมีการซื้อหุ้นได้เรียบร้อย
และ flip over หมายถึง กรณีที่ให้สิทธิในการให้ผู้ถือหุ้นเดิมของบริษัทเป้าหมาย ที่จะซื้อหุ้นจากบริษัทเมื่อถูก take
over เรียบร้อยแล้ว ในราคาที่มีส่วนลด และใช้สิทธิเมื่อมีการควบบริษัท ซึ่งในกรณีนี้ ไม่สามารถใช้ได้ในประเทศไทย
เพราะการควบกิจการในประเทศไทยนั้น จะมีบริษัทใหม่เกิดขึ้น แต่จะไม่บริษัทเดิมเหลืออยู่ เพราะไม่ใช้่กรณีที่เรียกว่า
การกลืนกิจการ Merger
สำหรับในประเทศไทยนั้น ยังอาจจะรวมถึงวิธีการออกใบสำคัญแสดงสิทธิ Warrants หรือ การออกหุ้นกู้แปลง
สภาพ Convertible Debenture ที่มีลักษณะดอกเบี้ยเงินกู้่สูง และให้สิทธิในการแปลงสภาพได้เมิื่อเกิดการ take
over ขึ้น โดยการขายเฉพาะในลักษณะของการขาย Private Placement ซึ่งทำได้โดยเพียงยื่นกับ กลต.เท่านั้น
ไม่ต้องขออนุญาติ การทำดังกล่าวย่อมทำให้หุ้นของบริษัทที่ถูก takeover หรือบริษัทเป้าหมายนั้น มีมูลค่าลดลงได้
วิธีการนี้ ก็จะนำมาใช้ได้ในประเทศไทย แต่ยังไม่เคยมีการทำ
4. Article of Association Defence การกำหนดหรือแก้ไขข้อบังคับของบริษัทมหาชนจำกัด กรณีนี้
บางครั้งเรียกว่า Shark Repellant Amendment โดยการกำหนดอาจกำหนดในลักษณะการเป็นเสียงข้างมาก
Super Majority โดยการกำหนดให้กิจการบางอย่างใช้เสียงข้างมากหรือกิจการบางอย่างที่กฏหมายกำหนดให้ใช้ 3
ใน 4 ก็ต้องใช้เสียงให้มากว่า 3 ใน 4 ซึ่งจะทำให้ผู้ takeover แม้จะสามารถได้หุ้นตามจำนวนที่ต้องการแล้ว แต่ก็
จะเกิดปัญหาในการบริหารงานบริษัทได้มาก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในกิจการที่ต้องมีเสียง 3 ใน 4 และจะต้องมีการระบุ
ตามกฏหมาย อาทิเช่น การขายหรือการโอนกิจการทั้งหมดหรือบางส่วนที่ค้ำประกันให้แก่บุคคลอื่น, การซื้อและรับโอน
กิจการของบริษัทอื่นหรือบริษัทเอกชนเป็นของบริษัท, การทำการแก้ไขการเลิกสัญญาเกี่ยวกับการเช่ากิจการบริษัททั้งหมด
หรือบางส่วนที่สำคัญ, การมอบหมายให้บุคคลอื่นเข้าจัดการธุรกิจหรือการรวมกิขการกับบุคคลอื่นโดยมีวัตถุประสงค์จะ
แบ่งกำไรขาดทุนกัน ซึ่งกรณีดังกล่าวนี้ ก็จะเป็นปัญหากับผู้เข้าซื้อกิจการอย่างมาก เพราะว่าเมื่อเข้าซื้อกิจการแล้ว ก็ไม่้
แน่ใจว่า จะดำเนินกิจการได้ตามความมุ่งหมายหรือไม่ นอกจากนี้ อาจจะกำหนดให้ข้อบังคับการลงคะแนนเสียงของการ
เลือกกรรมการนั้น เป็นการลงคะแนนแบบสะสม หรือที่เรียกว่า Cumulative voting right เพราะหลักการการลง
คะแนนเสียงสะสมนี้ จะเป็นประโยชน์แก่ผู้ถือหุ้นฝ่ายข้างน้อยหรือผู้ถือหุ้นรายย่อยที่สามารถลงคะแนนเสียงทั้งหมดที่
ตนมีอยู่ให้กับบุคคลใดที่ตนอยากให้เข้าเป็นกรรมการดูแลสิทธิิและผลประโยชน์ของตนได้ ซึ่งการลงคะแนนเสียงดังกล่าว
นี้ อาจจะทำให้ผู้ถือหุ้นที่จะเข้าไป takeover จะต้องมีบุคคลอื่นมาเป็นกรรมการได้ แทนที่จะใช้เสียงข้างมาก ก็เป็นวิธี
การหนึ่งที่จะสกัดให้ผู้ถือหุ้นที่เข้า takeover บริหารบริษัทได้อย่างง่าย
มีข้อสังเกตว่า ปัจจุบันนี้ การกำหนดสิทธิหุ้นบุริมสิทธิ์ก็ดี การกำหนดสิทธิในการห้ามโอนก็ดี หรือการกำหนดสิทธิ
ในการเลือกกรรมการหรือแบ่งเป็นกลุ่มก็ดี ไม่สามารถจะกระทำได้สำหรับบริษัทมหาชนจำกัด เพราะนายทะเบียนไม่
ยอมรับให้มีการจัดทำข้อบังคับที่ผิดไปจากกฏหมาย โดยอ้างว่า เพื่อจะมุ่งคุ้มครองมหาชนที่เป็นผู้ถือหุ้นข้่างน้อยและ
ขัดต่อพรบ.มหาชน ซี่งความจริงแล้ว น่าจะกำหนดเงื่อนไขบางประการนั้นเท่าที่ไม่ขัดต่อกฏหมายได้
5. Packman Defence Strategy หรือยุทธการการตอบโต้ ซึ่งเป็นวิธีการที่ว่า เมื่อมีบริษัท takeover
จะเข้า take over บริษัทเป้าหมาย บริษัทผู้ถือหุ้นก็เข้าไปซื้อบริษัทที่จะเข้า take over แทน ซึ่งต้องขึ้นอยู่กับว่า
บริษัทจะ take over นั้น เป็นบริษัทที่อยู่ในตลาดหลักทรัพย์หรือไม่ ถ้าหากเป็นบริษัท holding ที่อยู่ในตลาดหลักฯ
วิธีการนี้ ก็อาจจะทำได้เหมือนกันในประเทศไทย แต่ก็ยังไม่เคยมีกรณีนี้เกิดขึ้น
6. Golden Parachute หรือกลยุทธการกระโดดร่มทองคำเพื่อสละเครื่องบิน กรณีที่ทำให้บริษัทเป้าหมาย
จะต้องจ่ายเงินจำนวนมหาศาลหรือให้สิทธิแก่ผู้บริหารในบริษัทที่จะถูก take over สามารถทำประโยชน์ เพื่อให้สิทธิ
ตนเองได้ในลักษณะผลตอบแทนอื่นๆ ซึ่งก็จะทำให้บริษัทที่เข้าไป take over นั้น จะต้องจ่ายเงินเป็นจำนวนมากพอ
สมควร แต่อาจจะต้องดู มาตรา 87 ที่หากไม่ได้รับ่ความยินยอมจากคณะกรรมการ ก็อาจไม่มีผลผูกพันบริษัท หรือตาม
มาตรา 90 ที่ห้ามบริษัทจ่ายเงินหรือทรัพย์สินแก่กรรมการ เว้นแต่จะจ่ายตามข้อบังคับของบริษัท
7. Green Mail กลยุทธการจ่ายค่าตอบแทนพิเศษ เป็นการที่กลุ่มผู้ถือหุ้นในบริษัทเป้าหมายที่จ่ายเงินซื้อหุ้นใน
ราคาที่แพงกว่าปกติจากผู้ถือหุ้นที่ได้สะสมหุ้นไว้ เพื่อจะเข้าร่วมกับบุคคลอื่นในการเข้าซื้อกิจการ โดยเจ้าของบริษัท
เป้าหมายจะต้องซื้อหุ้นคืนมาเพื่อป้องกันไม่ให้มีการ take over เกิดขึ้น หรือเพื่อให้การบริหารงานสามารถดำเนินต่อไป
ได้โดยไม่มีอุปสรรค กรณีที่เกิดขึ้นในประเทศไทย คือ กรณีของธนาคารกรุงเทพฯพาณิชยการ ซึ่งการดำเนินการดังกล่าว
จะต้องดำเนินการให้ถูกต้องตามกฏหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้อง
8. Stock Repurchase กลยุทธการเสนอซื้อหุ้น ในต่างประเทศเป็นเรื่องที่บริษัทซื้อหุ้นตนเอง แต่ในเมืองไทย
ทำไม่ได้ กลยุทธการเสนอซืื้อหุ้นโดยผู้่ถือหุ้นใหญ่ในบริษัทที่จะถูกเข้าซื้อกิจการ จะต้องเสนอทำคำเสนอซื้อ Tender
Offer ด้วย
9. Stand Still Agreement คือ ข้อตกลงที่บริษัทซึ่งเป็นบริษัทเป้าหมายหรือผู้ถือหุ้นไทย อาจจะเจรจาเข้าทำ
ข้อตกลงให้สิทธิประโยชน์แก่ผู้จะเข้าครอบงำกิจการเพื่อให้ยุติการเข้าซื้อหุ้น เพื่อเข้าครอบครองกิจการ
10. Sale of Target Company กรณีที่ขายทรัพย์สินหรือหุ้นของบริษัทเป้าหมายเพื่อให้หุ้นดังกล่าวมีมูลค่า
ลดน้่อยลง ไม่ว่า จะเป็นการให้หุ้นแก่บุคคลภายนอกใช้สิทธิในการซื้อหุ้น ถ้าหากว่า มีคนมาทำการ take over ใน
ลักษณะที่เรียกว่า Stock Lock Up หรือขายทรัพย์สินที่มีมูลค่าของบริษัทในลักษณะที่เรียกว่า Crown Jewel ให้
กับบุคคลอื่นบุคคลใด ซึ่งกรณีดังกล่าวตามกฏหมายไทยคงจะต้องไปดูเกี่ยวกับข้อบังคับและกฏหมายมหาชนว่า เป็นการ
ขายทรัพย์สินส่วนใหญ่ของบริษีัททั้งหมดหรือไม่ และจะดำเนินการอย่างไรให้เป็นไปตามกฏหมาย รวมทั้งกรณีที่อาจมี
การออกข่าวประชาสัมพันธ์ว่า จะมีผู้อื่นมาร่วมลงทุนเพื่อไม่ให้ผู้ถือหุ้นรายย่อยขายให้่กับผู้เสนอซื้อในการทำ take over
เช่นในกรณีที่เกิดขึ้นกับ บริษัท Phoenix Pulp ที่เรียกว่า White Knight หรืออัศวินม้าขาวมาช่วยบริษัท
เอกสารประกอบคำบรรยาย
คุณกิติพงศ์ อุรพีพัฒนพงศ์